ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org

เว็บไซต์วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org
มีความมุ่งมั่นเเละตั้งใจในการเผยแพร่เรื่องราวความรู้ความเข้าใจในการสร้างสรรค์สังคมด้วย การพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมกฎหมายและการปกครอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป
มองโลก มองความยั่งยืน
จบปริญญาโท กฎหมายสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด อดีตสมาชิกในบ้านพิษณุโลกมาตั้งแต่รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีประสบการณ์พัฒนานโยบายสาธารณะมาต่อเนื่อง เป็นนักกฎหมายที่เชื่อมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืน
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์
ผู้ที่มีความมุ่งมั่นเเละมีอุดมการณ์ในการสร้างสรรค์สังคมที่มีความเท่าเทียม การพัฒนาประเทศไทยให้มีความทันสมัย เจริญเติบโตควบคู่ไปกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป

การประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล 2025

 

29 มกราคม 2568 กิจกรรมเวที Side Event ของงาน "การประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล 2025"

ในหัวข้อ "มลพิษทางอากาศ PM 2.5 Trader : Accountability and Technological Innovations for Air QualityandHealth"
ที่ Centara Grand & Bangkok Convention Center ที่ Central World
จัดโดย คณะกรรมการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ สำนักงานสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

โดยวันนี้เป็นการนำเสนอมุมมองและข้อค้นพบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านมลพิษทางอากาศจากมาเลเซีย ลาว ผู้เชี่ยวชาญจากUNESCAP และไทย จากแวดวงนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยเคมี แพทย์ วิศวกร นักกฏหมาย นักการเกษตร นักวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียม นักวิเคราะห์สภาพอากาศ ที่มาร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญแก่กัน ชี้ให้เห็นว่าทางแก้ของปัญหาฝุ่น PM2.5 นั้นมีทางออกที่เป็นไปได้ โดยต้องใช้หลายเครื่องมือมาประกอบกัน ทั้งยังเห็นพ้องว่า การมีข้อมูล Air Shed หรือลุ่มอากาศในแต่ละอนุภูมิภาคจะเป็นหัวใจสำคัญในการวางแผนปฏิบัติสำหรับแต่ละพื้นที่ที่ไม่ต้องเหมือนกัน การเชื่อมความร่วมมือข้ามประเทศ ภาคทางการและภาควิชาการ ภาคธุรกิจ ตลอดถึงภาคประชาสังคมข้ามประเทศเท่านั้นจึงจะสามารถคาดหวังความเปลี่ยนแปลงที่สัมผัสได้ โดยเวลานี้บรรดารัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ได้ลงนามเห็นชอบข้อตกลงร่วมมือในการบริหารปัญหามลภาวะทางอากาศจากการ้ผาชีวมวลในภูมิภาคร่วมกันแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อลดผลกระทบด้านสุขภาพให้กับประชากรที่มีอยู่หนาแน่นมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง 

ส่วนความร่วมมือในภาคอุตสาหกรรม ก็จะเป็นอีกสาขาที่ต้องใช้ฐานวิชาการด้านมลพิษทางอากาศมากระชับความร่วมมือเร่งด่วนต่อไป