ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org

เว็บไซต์วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org
มีความมุ่งมั่นเเละตั้งใจในการเผยแพร่เรื่องราวความรู้ความเข้าใจในการสร้างสรรค์สังคมด้วย การพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมกฎหมายและการปกครอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป
มองโลก มองความยั่งยืน
จบปริญญาโท กฎหมายสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด อดีตสมาชิกในบ้านพิษณุโลกมาตั้งแต่รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีประสบการณ์พัฒนานโยบายสาธารณะมาต่อเนื่อง เป็นนักกฎหมายที่เชื่อมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืน
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์
ผู้ที่มีความมุ่งมั่นเเละมีอุดมการณ์ในการสร้างสรรค์สังคมที่มีความเท่าเทียม การพัฒนาประเทศไทยให้มีความทันสมัย เจริญเติบโตควบคู่ไปกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป

ธนาคารปูม้าแหลมผักเบี้ย กินกันได้แบบยั่งยืน เมื่อคืนปูรุ่นลูกให้ธรรมชาติ

 

โดย วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา กรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของวุฒิสภา
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ได้ลงพื้นที่แหลมผักเบี้ยที่เพชรบุรี และเยี่ยมประชุมกับกลุ่มชุมชนธนาคารปูม้า ชุมชนนี้เริ่มทำกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนฐานเรียนรู้..มีโฮมสเตย์หลายหลัง..มีผู้มาเยือนดูงานเป็นรถบัสบ่อยๆ มีทั้งชาวไทย ชาวจีน และจากประเทศเพื่อนบ้าน แม่บ้านในชุมชนนี้รวมกันทำระบบธนาคารปูม้าที่น่าชื่นชมมาก โดยศึกษาว่าปูม้านั้นหากจับกินแบบไม่สร้างการคืนปูรุ่นลูกให้ธรรมชาติ ปูม้าจะหมดไปได้ ซึ่งเคยมีการขาดแคลนหายากจนเป็นปัญหามาแล้ว

“ชาวบ้านจึงใช้ผลการศึกษาดูงานจากที่อื่นมาพัฒนาให้มีถังไว้เก็บแม่ปูที่มีไข่แล้ว..ซึ่งดูง่ายๆว่าถ้าที่ท้องมีไข่สีออกเหลืองๆเป็นพวง..แปลว่าอีก 7 วันไข่จะกลายเป็นลูกปู ถ้าเป็นสีคล้ำลงจนดำ แปลว่าใน24ชม.จะเป็นลูกปู ซึ่งลูกปูจะอ่อนแอมาก ดังนั้นธนาคารปูม้าจึงเอาแม่ปูมีไข่มาหย่อนไว้ในถังที่มีฟองเพิ่มออกซิเจน เพื่อทำให้แม่ปูอยู่ได้ดีไม่มีการรบกวนจนไข่เป็นลูกปู คราวละกว่าแสนตัว จากนั้นก็ให้นักท่องเที่ยวเอาถังใบเล็กมาตักไปเทปล่อยที่ทะเลช่วงน้ำลง เพื่อให้น้ำทะเลพาลูกปูออกสู่ชายฝั่งป่าโกงกาง จะได้มีโอกาสรอดและเติบโต”

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า วิธีนี้ช่วยทำให้มีปูรอดเพิ่มในแต่ละท้องอีกราว10% เพิ่มทั้งความสมบูรณ์ให้ธรรมชาติ และเพิ่มความยั่งยืนให้ชาวประมงจับปู เพิ่มความยั่งยืนให้การท่องเที่ยวดูงาน นักท่องเที่ยวมักจะยินดีมอบเงินสนับสนุนธนาคารปูม้ากันเอง ซึ่งกลับมียอดสูงกว่าการคิดค่าตักปูไปปล่อยแบบถังละไม่กี่บาท จากนั้นนักท่องเที่ยวก็จะก็จะไปซื้อผลผลิตจากเรือประมงที่จับมาได้และมีแม่บ้านของชุมชนช่วยทำสุกให้รับประทาน ที่เพิงริมท่าขึ้นปลาเลย

นายวีระศักดิ์ บอกด้วยว่า ชาวบ้านใช้หลักความพอเพียงพอประมาณในการบริหารกิจการท่องเที่ยวนี้ ไม่ยอมเปิดเป็นร้านอาหารเพราะนั่นคือการต้องทำเมนูตามใจตลาด แต่ชาวบ้านตัดสินใจว่านักท่องเที่ยวต้องเลือกทานแต่สิ่งที่ที่นี่มีในวันนี้จากเรือประมงเท่านั้น ดังนั้น..ที่นี่จึงต้องสั่งวัตถุดิบมาจากข้างนอก ขายในสิ่งที่มี กินแต่สิ่งที่หา ซึ่งลูกค้าชมมากว่าอร่อย สด และได้บรรยากาศจริงแท้ของชาวบ้าน จึงเพิ่มปริมาณมาดูงานศึกษากิจกรรมทั้งประมง ทั้งการปลูกพืชผัก การเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น และอื่นๆที่ชาวบ้านใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทำไว้

“โดยชุมชนเมื่อประชุมและพาผมตักลูกปูไปปล่อยแล้ว..ชาวบ้านขอรับการช่วยเหลือจากกระทรวงการท่องเที่ยวฯเรื่องป้ายบอกทาง ห้องน้ำสำหรับคนเดินทาง และขอรถรางนำชม เพราะที่ใช้อยู่คือรถสามล้อแดงซึ่งเล็กเกินกว่าจะรับนักท่องเที่ยวดูงานที่มักมาเป็นคันรถบัส และขอรูปปั้นปูตัวโตๆมาเป็นสัญลักษณ์ด้านหน้าให้เป็นแลนด์มารค์ให้นักท่องเที่ยวมาถูก มาถึงง่ายขึ้น มีรถพาชมฐานงานพัฒนาไปตามจุดต่างๆของชุมชนที่สะดวกขึ้น ซึ่งรองอธิบดีกรมการท่องเที่ยวซึ่งมาด้วยในคณะได้รับประเด็นนี้ไปตั้งคำของบมาดำเนินการให้ในปี 62 ต่อไปครับ “นายวีระศักดิ์ กล่าว

“คืนนี้ผมมุ่งหน้าต่อไปประจวบคีรีขันธ์ ค้างแรมในโฮมสเตย์ของชมรมท่องเที่ยวชุมชนอ่าวน้อย พรุ่งนี้จะเยี่ยมประชุมกับชุมชนท่องเที่ยวของกลุ่มชาวบ้านเผ่าไทยทรงดำ แล้วจึงแล่นย้อนมาพบกับชุมชนที่แก่งกระจาน ของจ.เพชรบุรีต่อไปครับ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา มติชนออนไลน์

 
 
-------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------